วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาม.6

แผนการสอน
สุขศึกษา ม.6






แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ43102 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา
โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ระบบอวัยวะ
เรื่อง ระบบประสาทสืบพันธุ์ และต่อมไร้ท่อ เวลา 2 ชั่วโมงสาระการเรียนรู้ที่ 1 มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 1.1 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อที่ 1, 2
วันที่ … เดือน พ.ศ. 2552 ผู้สอนนาย สมแพง อินอาน
……………………………………………………………………………………………………….
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
เข้าใจกระบวนการสร้างเสริม และดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาทสืบพันธุ์และระบบต่อมไร้ท่อ

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายการทำงานของระบบประสาท สืบพันธุ์และต่อไร้ท่อได้
2. อธิบายวิธีดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท สืบพันธุ์และต่อมไร้ท่อได้
3. ตระหนักและเห็นความสำคัญในการดูแลระบบประสาท สืบพันธุ์และต่อมไร้ท่อ
4. ดูแลสุขภาพของระบบประสาท สืบพันธุ์และต่อมไร้ท่อได้อย่างถูกต้อง

สาระการเรียนรู้
1. ระบบประสาท
ส่วนประกอบ
การทำงานของระบบประสาท
การดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบประสาท
2. ระบบสืบพันธุ์
- ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง
- อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
- อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน
- สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศหญิง
- ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย
- อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชาย
- สุขปฏิบัติเกี่ยวกับอวัยวะเพศชาย
การดำรงประสิทธิภาพการทำงานของระบบสืบพันธุ์
3. ระบบต่อไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อ
ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ
การดำรงประสิทธิภาพการทำงานของต่อมไร้ท่อ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
1. นักเรียนแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่มๆละเท่าๆกัน ให้แต่ละกลุ่มศึกษาการทำงานของระบบอวัยวะ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 และ 2 ศึกษาระบบประสาท
กลุ่มที่ 3 และ 4 ศึกษาระบบสืบพันธุ์
กลุ่มที่ 5 และ 6 ศึกษาระบบต่อไร้ท่อ
2. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือแบบฝึกชุดปฏิบัติจริง
3. ให้แต่ละกลุ่มจัดทำโครงงานตามกิจกรรมที่ โดยให้นักเรียนประชุมวางแผนการทำงาน นำเสนอข้อมูลในการวางแผนหน้าชั้นกลุ่มละ 5 นาที
4. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปการทำงาน
ชั่วโมงที่ 2
5. นักเรียนกลุ่มที่ 1, 3, 5 ออกมานำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบ กลุ่มละ 5 นาที
6. นักเรียนช่วยกันวิจารณ์ดารนำเสนอข้อมูลของเพื่อน เพื่อการปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป
8. นักเรียนกลุ่มที่ 2, 4, 6 ออกมานำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองรับผิดชอบ กลุ่มละ 10 นาที
9. นักเรียนช่วยกันวิจารณ์ดารนำเสนอข้อมูลของเพื่อน เพื่อการปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป
10. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปเพิ่มเติม
สื่อการเรียนรู้
หนังสือแบบฝึกชุดปฏิบัติจริง สุขศึกษา ม.6
การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วัดและประเมินผลด้านองค์ความรู้ ในหนังสือหน้า 14
2. วัดและประเมินผลด้านทักษะกระบวนการในการจัดทำโครงงาน
3. วัดและประเมินผลด้านเจตคติ
แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ43102 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา
โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สุขภาพครอบครัว
เรื่อง เพศศึกษา เวลา 2 ชั่วโมงสาระการเรียนรู้ที่ 2 มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 2.1 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นข้อที่1, 2, 3, 4, 5
วันที่ … เดือน พ.ศ. 2550 ผู้สอน ธรรมรักษ์ พวงมาลัย
……………………………………………………………………………………………………….
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. รู้และเข้าใจปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศ สัมพันธุ์
2. เห็นความสำคัญของการวางแผนชีวิต และการสร้างครอบครัว
3. ตระหนักถึงความสำคัญของการมีเพศสัมพันธุ์ที่ปลอดภัยและปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธุ์ได้
2. อธิบายความสำคัญของการวางแผนชีวิต และการสร้างครอบครัวได้
3. วางแผนชีวิตของตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
4. อธิบายความสำคัญของการมีเพศสัมพันธุ์ที่ปลอดภัยได้
5. อธิบายวิธีการคุมกำเนิดได้
6. ปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมในเรื่องเพศตามวัฒนธรรมไทย
สาระการเรียนรู้
1. ปัจจัยเสี่ยงของสังคมที่มีต่อการมีเพศสัมพันธุ์
2. การวางแผนชีวิตและการสร้างครอบครัว
3. การเลือกคู่ครอง
4. การเตรียมความพร้อมก่อนการสมรส
5. การวางแผนครอบครัว
6. วิธีคุมกำเนิด
7. การมีเพศสัมพันธุ์ที่ปลอดภัย



การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
1. นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 5คน ให้วิเคราะห์ปัญหาของวัยรุ่นในเรื่องเพศ และปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธุ์ ในเวลา 5 นาที ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเขียนปัญหาและปัจจัยเสี่ยงบนกระดาน
2. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปปัญหาและปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้น
3. ให้นักเรียนทำกิจกรรมที่ 1 ในหนังสือ
4. ให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มช่วยกันหาข่าวจากหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับปัญหาทางเพศนำเสนอข้อมูลในชั่วโมงหน้า
ชั่วโมงที่ 2
5. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงาน
6. ครูให้นักเรียนสำรวจความคิดเห็นของนักเรียนที่ตนเอง
7. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเสนอผลการสำรวจ ปัญหา อุปสรรค และสรุปผล
8. ให้นักเรียนประเมินผลฐานการเรียน ครูสรุปความรู้
9. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือชุดปฏิบัติจริง
สื่อการเรียนรู้
1. หนังสือแบบฝึกชุดปฏิบัติจริง สุขศึกษา ม.6
2. กระดาษโปสเตอร์
3. อุปกรณ์จัดป้ายนิเทศ

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วัดและประเมินผลด้านองค์ความรู้ ในหนังสือ
2. วัดและประเมินผลด้านทักษะกระบวนการ ในการจัดทำวิจัย
3. วัดและประเมินผลด้านเจตคติ ในหนังสือ








แผนการจัดการเรียนรู้
รายวิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ43102 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา
โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างเสริมสุขภาพ
เรื่อง การป้องกันโรค เวลา 2 ชั่วโมงสาระการเรียนรู้ที่ 4 มาตรฐานการเรียนรู้ที่ 4.1 มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น ข้อที่ 1, 2
วันที่ … เดือน พ.ศ. 2550 ผู้สอน ธรรมรักษ์ พวงมาลัย
……………………………………………………………………………………………………….
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. สร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของชุมชน
2. สร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของตนเอง ครอบครัว และชุมชนด้วยแนวทาง และภูมิปัญญาที่เหมาะสม
3. มีส่วนร่วมในการป้องกันโรคที่มีสาเหตุจากพฤติกรรมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4. เห็นความสำคัญของการประเมินภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมเสี่ยงของชุมชน

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายองค์ประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพได้
2. อธิบายการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยภูมิปัญญาไทยได้
3. ยกตัวอย่างและสาธิตภูมิปัญญาไทยในชุมชนของนักเรียนได้
4. จัดตั้งแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน

สาระการเรียนรู้
1. การสร้างเสริมสุขภาพ
2. องค์ประกอบที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ
3. การสร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคด้วยแนวทางและภูมิปัญญาที่เหมาะสม





การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1
1. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน ให้นักเรียนช่วยกันระดมสมองเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของตนเอง และครอบครัวใช้เวลาคิด 5 นาที นำเสนอข้อมูลหน้าชั้นกลุ่มละ 2 นาที ครูและนักเรียนช่วยกันสรุป
2. ให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคด้วยภูมิปัญญาไทย สาธิตและนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นในชั่วโมง
3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาสาธิตและนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นทีละกลุ่ม
4. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มวิจารณ์การนำข้อมูลของเพื่อนเพื่อนำไปปรับปรุงในโอกาศต่อไป
5 . ให้นักเรียนจัดกลุ่มเช่นเดิมช่วยกันคิดโครงงานในการสร้างแนวร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน
6. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือแบบฝึกชุดปฏิบัติจริง สุขศึกษา ม.6
ชั่วโมงที่ 2
7. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลการทำโครงงาน
8. นักเรียนและครูช่วยกันเสนอแนะการปรับปรุงพัฒนางาน
9. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในหนังสือฝึกชุดปฏิบัติจริง สุขศึกษา ม.6

สื่อการเรียนรู้
หนังสือแบบฝึกชุดปฏิบัติจริง สุขศึกษา ม.6

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
1. วัดและประเมินผลด้านองค์ความรู้ ในหนังสือ
2. วัดและประเมินผลด้านทักษะกระบวนการ ในการนำเสนอ การทำงานกลุ่ม
3. วัดและประเมินผลด้านเจตคติ ในหนังสือ

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1.4.2 Adjectives (การทำให้เป็นคำคุณศัพท์ )

                            Adjectives 
                              Formation (การทำให้เป็นคำคุณศัพท์ )
                                      ขอขอบคุณข้อมูล จาก  http://ict.moph.go.th/English/content/adj03_kind.htm



คำคุณศัพท์นอกจากเป็นด้วยตัวของมันเองแล้ว ยังสามารถนำชนิดของคำอื่นมาทำให้เป็นคำคุณศัพท์ได้ด้วย เช่น
1. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนามโดยการเติม Suffix ท้ายคำเช่น
คำนาม
คำคุณศัพท์
educationการศึกษาeducationalเกี่ยวกับการศึกษา
goldทองgoldenทำด้วยทอง
foolความโง่foolishอย่างโง่ๆ
careระมัดระวังcarelessไม่ระมัดระวัง
friendเพื่อนfriendlyเป็นเพื่อน
dangerอันตรายdangerousเป็นอันตราย
troubleยุ่งยากtroublesomeความยุ่งยาก
dustฝุ่นdustyเต็มไปด้วยฝุ่น
2. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำกริยา ( Verb) โดยการเติม suffix ท้ายคำ เช่น
คำกริยา
คำคุณศัพท์
talkพูดtalkativeช่างพูด
sleepหลับsleepyง่วงนอน
differแตกต่างdifferentความแตกต่าง
acceptยอมรับacceptableเป็นที่ยอมรับได้
washซักwashableซักได้

1.4.1 Adjective (ตำแหน่งของคุณศัพท์)

Adjective 
ตำแหน่งของคุณศัพท์ ( Position )
ขอขอบคุณข้อมูล จาก  http://ict.moph.go.th/English/content/adj03_kind.htm



Adjective ( คุณศัพท์ ) คือคำ ( word ) วลี ( phrase ) หรือประโยค ( sentence )    ซึ่งใช้อธิบายหรือขยายคำนาม หรือสรรพนาม ให้ได้ ความชัดเจนยิ่งขึ้น กล่าวคือเป็นการบอกให้รู้ลักษณะคุณสมบัติของนามหรือสรรพนามนั้นว่าเป็นอย่างไร เช่น good, bad, new, hot, my, this  โดยทั่วไปการวางตำแหน่ง คุณศัพท์ในประโยคจะวางได้ 2 แบบ

  • ใช้วางประกอบข้างหน้านาม ( attributive use ) ที่มันขยายShe is a beautiful girl.  เธอเป็นคนสวย ( beautiful ขยายนาม girl)
    These are small envelopes. พวกนี้เป็นซองเล็กๆ  ( small ขยายนาม envelopes)
  • ใช้วางเป็นส่วนของกริยา ( predicative use ) โดยอยู่ตามหลัง verb to be เมื่อ adjective นั้นขยาย noun หรือ pronoun ที่อยู่หน้า verb to beThe girl is beautiful. เด็กผู้หญิงคนนั้นสวย 
          (
     beautiful เป็นคุณศัพท์ที่ตามหลัง verb to be  ขยาย girl และ the เป็นคุณศัพท์ขยาย girl เช่นกัน
    These 
    envelopes are smallซองพวกนี้มีขนาดเล็ก
          (
     small เป็นคุณศัพท์ที่ตามหลัง verb to be ขยาย envelopes ,these เป็น คุณศัพท์ขยาย envelopes เช่นกัน )
    She 
    has been sick all weekเธอป่วยมาตลอดอาทิตย 
          (
     sick เป็น คุณศัพท์ ที่ตามหลัง verb to be   ขยายสรรพนาม she )
    ( You) 
    Be careful( คุณ ) ระมัดระวังด้วย 
          
    ( careful เป็นคุณศัพท์ที่ตามหลัง verb to be ขยาย you    ซึ่งในที่นี้ละไว้เป็นที่เข้าใจ ) 
    That cat 
    is fat and  whiteแมวตัวนั้นอ้วนและมีสีขาว
         
    ( That 
    เป็นคุณศัพท์ประกอบหน้านาม   fat และ white เป็นคุณศัพทซึ่งเป็นส่วนของกริยาขยาย cat
 หลักเกณฑ์อื่นๆ
1. คุณศัพท์ที่ประกอบหน้านามไม่ได้ ต้องวางหลัง verb to be หรือ linking verb* เท่านั้นเรียกว่าเป็น predicate adjective ได้แก่
 alike เหมือน
 afraid
 กลัว
 asleep หลับ
 alone
 โดยลำพัง
 awake ตื่นอยู่
 alive
 มีชีวิตอยู่
 aware ระวัง
 ashamed
 ละอาย
 afloat ลอย
 unable
ไม่สามารถ
 content พอใจ
 worth
 มีค่า
 ill ป่วย
 well
 สบายดี
 เช่น
These two women look alike. ผู้หญิง 2 คนนี้ดูเหมือนกัน ( look เป็น linking verb, alike เป็น predicative adj.)
The boy is asleep. เด็กชายกำลังนอนหลับ ( ทำเป็น attributive adj. ได้คือ The  sleeping boy. )
The sky is aglow. ท้องฟ้าสว่างไสว ทำเป็น attributive adj. ได้คือ The  glowing sky.

linking verb หมายถึง กริยาที่ใช่เชื่อมประธาน ( Subject) กับคำอื่นให้สัมพันธ์ กันเพื่อช่วยขยายประธานของประโยค ให้ได้ใจความสมบูรณ์ที่นอกเหนือไปจาก verb to beเช่น appear, become, feel, get, grow,keep, look, go, remain, seem, smell, sound, taste, turn.
 2. คุณศัพท์ที่ใช้เป็นส่วนของกริยา ( verb to be ) ไม่ได้ เช่น
 former ก่อน latter หลัง
 inner ภายใน outer นอก
 actual ในทางปฏิบัติ neighboring ใกล้เคียง
 elder อายุมากกว่า drunken เมา
 entire ทั้งสิ้น shrunken หด
 especial โดยเฉพาะ wooden ทำด้วยไม้
 middle กลาง  
เช่น   A wooden heart. (ไม่ใช่  A heart is wooden )
 3. ถ้าคุณศัพท์นั้นทำหน้าที่ขยายนามหรือสรรพนามที่เป็นกรรมของประโยค ต้องวางคุณศัพท์ไว้หลังกรรมนั้นเพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
We considered his report  unsatisfactory.  เราพิจารณาเห็นว่ารายงานของเขาไม่เป็นที่น่าพอใจ
      (unsatisfactory 
เป็นคุณศัพท์ขยาย his report  ซึ่งเป็นกรรมของประโยค )
 4. เมื่อใช้กับข้อความแสดงการวัด ( measurement) วางคุณศัพท์ไว้หลังนาม หรือสรรพนาม เช่น
My uncle is sixty years old.  ลุงของฉันอายุ 60 ปี    (ไม่ใช่ My uncle is old sixty years.)
This road is fifty feet wide. ถนนนี้กว้าง 50 ฟุต    (ไม่ใช่ This road is wide fifty feet.)
 5. เมื่อคุณศัพท์หลายคำประกอบนามหรือสรรพนามเดียว จะวางข้างหน้าหรือข้างหลังก็ได้   โดยจะต้องมี and  มาคั่นหน้าคุณศัพท์ตัวสุดท้าย เช่น
The building, old and unpainted, was finally demolished.   ตึกซึ่งเก่าและสีทรุดโทรม
    ในที่สุดก็ถูกทุบทิ้ง ( วางข้างหลัง ) หรือThe old and unpainted building was finally demolished. ( วางข้างหน้า )
 He bought a new, powerful and expensive car . เขาซื้อรถใหม่ที่กำลังแรงสูงและราคาแพง หรือ 
 He bought a carnew, powerful and expensive.  
 6. คุณศัพท์วางตามหลังคำสรรพนาม ( pronoun ) ที่มันขยาย ต่อไปนี้        
 someone anyone no one everyone
 somebody anybody nobody everything
 something anything nothing everybody
เช่น
She wanted to marry someone rich and smart.  เธอต้องการแต่งงานกับใครสักคนซึ่งหล่อและรวย
I'll tell you something important. ฉันจะเล่าบางอย่างที่สำคัญให้คุณฟัง
 7. วาง คุณศัพท์ไว้หลังนามหรือสรรพนามถ้าคุณศัพท์นั้นมีข้อความ ( prepositional phrase ) ประกอบอยู่      เช่น
Thailand is a country famous for its food and  fruits.  ไทยเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในเรื่องอาหารและผลไม้
      (famous เป็นคุณศัพท์    famous for food and fruits เป็นข้อความขยายคำนาม country)
She is the woman suitable for the position. เธอเป็นผู้หญิงที่เหมาะสมกับตำแหน่ง
 
      (suitable
 เป็นคุณศัพท์  suitable for the position.  เป็นข้อความขยาย  woman )
 8. คุณศัพท์บางคำมีความหมายต่างกัน ถ้าวางในตำแหน่งที่ต่างกัน เช่น
He is and old friend.  เขาเป็นเพื่อนเก่า
My friend is old.  เพื่อนของฉันสูงอายุ
The teacher was present.  ครูมาอยู่ที่นั้นด้วย
The present teacher.  ครูคนปัจจุบัน
Harry was late.  แฮรีมาสาย
The late Harry.  แฮรี่ผู้เสียชีวิตไปแล้ว
 9. กลุ่มของคำที่เป็นวลี ( phrase) หรืออนุประโยค ( clause ) เมื่อขยายคำนาม ต้องวางหลังนามหรือสรรพนามที่มันประกอบ เช่น
The woman sitting in the chair is my mother .  ผู้หญิงที่นั่งที่เก้าอี้เป็นแม่ของฉัน 
      ( sitting in the chair
  เป็นวลี ขยายคำนาม  the woman)
The man who came to see me this morning is my uncle.     ผู้ชายที่มาหาฉันเมื่อเช้านี้คือลุงของฉัน 
     ( who came to see me this morning
  เป็นอนุประโยคขยายคำนาม the man )
หมายเหตุ    ถ้านามใดมีทั้งวลี และ อนุประโยค มาขยายพร้อมกัน ให้เรียงวลีไว้หน้าอนุประโยคเสมอ เช่น
I like the picture on the wall which was  painted by my friend.     ฉันชอบรูปภาพที่แขวนบนข้างซึ่งวาดโดยเพื่อนของฉัน
      ( on the wall เป็นวลีขยาย the picture) ( which was painted by my friend เป็นอนุประโยคขยาย the picture ) 

There is only one solution possible.   (possible วางหลังคำนาม solution ) There are some tickets available.   ( available วางหลังคำนาม tickets)
 10. คุณศัพท์ที่เป็นสมญานามไปขยายคำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ให้วางหลังคำนามนั้นเสมอ เช่น
 Alexander the GreatWilliam the Conqueror
 11.โดยปกติคุณศัพท์จะต้องวางหลัง article ที่เป็น a หรือ an เช่น a good man   ยกเว้นคุณศัพท์ต่อไปนี้   เมื่อนำไปขยายคำนามที่เป็นเอกพจน์และนับได้ ให้วางคุณศัพท์นั้นไว้หน้า a หรือ an ได้แก่half, such, quite,  rather และ many เช่น
John is such a good man. ( a good man เป็นนามเอกพจน์ )This is rather a valuable picture ( a valuable picture เป็นนามเอกพจน์ )
 12. เมื่อ adjective หลายคำประกอบคำนามเดียว ควรวางลำดับก่อนหลังดังนี้
Article
Demonstrative
Possessive
Indefinite
Adjective
บอกจำนวนนับ
คำอธิบายลักษณะ
นามรองทำหน้าที่คุณศัพท์
 
นามหลัก
 
คุณภาพ
ลักษณะ
รูปร่าง
ขนาด
อายุ
สี
สัญชาติ
แหล่งกำเนิด
วัสดุ
A
 
beautiful
 
old
 
Italian
 
touring
car.
An
 
expensive
 
antique
 
 
silver
 
mirror.
The
four
gorgeous
long-stemmed
 
red
 
 
 
roses.
Her
 
short
 
 
black
 
 
 
hair.
Our
two
 
big
old
 
English
 
  
sheep-
dogs.
 
Some
delicious
 
 
 
Thai
 
 
food.
Many
 
modern
small
 
 
 
brick
 
houses.